วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระเจ้าปเสนทิโกศล

พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโกศล ผู้ครองเมืองสาวัคถี แคว้นโกศล สมัยยังทรงพระเยาว์ได้ศึกษาศิลปวิทยาในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับเจ้าชายมหาลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี และพันธุละเสนาบดีแห่งนครรุสินารา เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลสำเร็จการศึกษาแล้ว ก็ได้เสด็จกลับนครสาวัตถี และได้ครองราชย์สมบัติสืบแทนพระราชบิดาต่อไป
พระเจ้าปเสนทิโกศลนับถือนักบวชพระพุทธศาสนามาก่อน สาเหตุที่หันมาเลื่อมใสพระพุทธศาสนานั้นมีเรื่องเล่ากันว่า วันหนึ่งขณะยืนประทับอยู่บนปราสาท พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระสงฆ์หลายพันรูปเดินไปฉันภัตตาหารที่บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐีด้วยอาการสงบสำรวม รู้สึกเลื่อมใสในอากัปกิริยาอันงดงามของพระสงค์ จึงมีพระราชประสงค์จะถวายภัตตาหารบ้างจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและกราบทูลขออาราธนาให้พระองค์เสด็จไปเสวยพระกายาหารในพระบรมมหาราชวังพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ แล้วทรงมอบพระองค์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าและทรงขอให้พระพุทธองค์เสด็จไปเสวยพระกายาหารเช่นนี้เป็นประจำ พระพุทธองค์ตรัสว่า “ในฐานะที่ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จะต้องสงเคราะห์ประชาชนทั่วหน้ากัน จะไม่เสวยพระกายาหารที่เดียวตลอดไป” จึงทรงมอบภาระให้พระอานนท์ พุทธอปฐากพาภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งไปฉันภัตตาหารเป็นประจำแทน
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความมั่นคงในพระรัตนตรัย และมีความเคารพในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ทุกครั้งที่ทรงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอภิวาท ( กราบ ) แทบพระยุคลบาทพระพุทธองค์อย่างนอบน้อม จนพระพุทธองค์ทักว่าเป็นถึงราชามหากษัตริย์ไม่จำเป็นต้องแสดงความเคารพถึงขนาดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลกรายทูลว่า “ พระองค์ถวายความเคารพอย่างสูงเช่นนี้ เพราะพรพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกของโลก เป็นผู้ประดิษฐานมหาชนไว้ในกุศลธรรม” คือทรงสั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรมอันดีงามยากที่คนอื่นจะทำได้
ทุกครั้งที่ท่านว่างจากพระราชภารกิจ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะเสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้าฟังธรรมและขอคำแนะนำจากพระพุทธเจ้าเสมอจึงทรงคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดีและทรงปรารถนาจะมีความคุ้นเคยทางสายเลือดกับพระพุทธองค์อีกด้วย จึงทรงขอพระธิดาของพระเจ้าศากยะมาเป็นมเหสีอีกองค์หนึ่ง
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีพระทัยใฝ่ในการบุญการกุศลอย่างยิ่ง ดังหลักฐานปรากฏว่าพระองค์ทรงทำทานแข่งกับประชาชน เมื่อประชาชนจำนวนมากร่วมมือร่วมใจกันถวายทานอันใหญ่โต พระองค์พ่ายแพ้ แต่ด้วยความช่วยเหลือจากพระนางมัลลิกาเทวีพระมเหสีได้ถวายคำแนะนำให้ทรงทำ “ อสทิสทาน” จึงสามารถเอาชนะประชาชนได้
พระเจ้าปเสนทิโกศลถูกการายนอำมาตย์ยึดพระนครขณะเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร พระองค์จึงทรงมอบราชสมบัติให้วิฑูฑภะพระราชกุมารครองราชย์สมบัติสืบแทนส่วนพระองค์ก็เสด็จหนีไปเมืองราชคฤห์ เพื่อขอกำลังจากพระเจ้าอชาตศัรตูมาช่วยปราบกบฏ แต่ไปไม่ทันเวลา ประตูเมืองปิดเสียก่อน ด้วยความเหน็ดเหนื่อยบอบช้ำพระวรกาย และด้วยความเสียพระราชหฤทัย พระองค์ก็เสด็จสวรรคต ณ ค่ำคืนนั้น ที่ข้างประตูเมืองราชคฤห์นั่นเอง
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. ทรงมั่นคงในพระรัตนตรัย หลังจากหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมั่นคงในพระรัตนตรัยมาก ดังทรงแสดงออกถึงความเคารพอย่างสูงต่อพระพุทธเจ้า และดูแลความเอยู่ของพระสงฆ์เป็นอย่างดีตลอดรัชกาลของพระองค์
2. ทรงรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาอย่าดียิ่ง มีหลายครั้งที่พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาถูกลัทธิตรงข้ามผู้ไม่ปรารถนาดีใส่ร้ายป้ายสีให้มัวหมองเสื่อมเสียพระองค์จะไม่ทรงเฉยเมย ทรงเอพระทัยใส่ช่วยขจัดปัดเป่าให้หมดไปในฐานะที่ทรงเป็นเออัครศาสนูปถัม ภก ดังกรณีที่พวกนิครนถ์ ได้ฆ่านางสุนทรีสาวิกาของตนเอง และนำศพไปทิ้งไว้ใกล้พระเชตะวัน จากนั้นปล่อยข่างว่าสาวิกาของพวกตนถูกสาวกของพระพุทธเจ้าฆ่าตาย พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่เชื่อกลับรับสั่งให้สอบสวนจนถึงต้นตอ จึงได้ความจริงผู้ที่ฆ่านางก็คือพวกนิครนถ์นั่นเอง เพื่อใส่ร้านป้ายสีให้พระพุทธศาสนามัวหมอง และดังกรณีที่พวกนิครนถ์จ้างโจรไปฆ่าพระโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงเอาเป็นภาระรับสั่งให้สืบสวน สอบสวนจนได้ตัวการที่แท้จริง เป็นต้น
3.ทรงมีพระทัยกว้างยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น พระเจ้าแผ่นดินที่ปกครองด้วยระบบราชาธิปไตยนั้น มักไม่ค่อยมีใครกล้าตักเตือน หรือมักไม่ค่อยฟังความคิดเห็นของคนอื่น แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงมีทิฐิมานะเช่นนั้น แต่กลับยอมรับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์จากคนอื่น แม้ผู้นั้นจะอยู่ในสถานะด้อยกว่าพระองค์ก็ตาม ดังทรงรับฟังคำแนะนำของพระนางมัลลิกาเทวีที่ถวายคำแนะนำให้ทรงเห็นโทษในการฆ่าสัตว์บูชายัญและให้ทรงทำ “อสทิสทาน” แข่งกับประชาชนหรือกระทำตามข้อเสนอแนะของฉัตตปาณิอุบาสกในการเสด็จไปทูลขอพระสาวกของพระพุทธเจ้ามาช่วยสั่งสอนธรรมให้แก่พระมเหสี เป็นค้น
4. ทรงยอมรับความคิดเห็นและพร้อมที่จะแก้ไข คุณสมบัติข้อนี้สืบเนื่องมาจากข้อ 2,3 เมื่อตนทำผิดและมีคนอื่นแนะนำ ก็ยอมรับในความผิดพลาดและพร้อมจะแก้ไขข้อนี้ปรากฏชัดเจน คือ เมื่อครั้งที่พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งให้สังหารพันธุละเสนาบดีพร้อมทั้งบุตร 32 คนเพราะทรงหลงเชื่อคำยุยงว่าพันธละเสนาบดีคิดจะยึดครองราชย์สมบัติเมื่อความจริงปรากฏว่าพันธุละเสนาบดีบริสุทธิ์ พระองก็เสด็จไปทรงขอขมาต่อพระนางมัลลิกาผู้เป็นภริยาของพันธุละเสนาบดี
http://203.172.243.210/elearning/mod/resource/view.php?id=2396
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=548dcafa4f00234f

พระเจ้าพิมพิสาร(อริยบุคคล)



พระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นแคว้นที่ใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดแคว้นหนึ่ง
ในสมัยพุทธกาลมีเมืองหลวงชื่อ กรุงราชคฤห์ พระองค์ได้ปกครองแคว้นมคธสืบต่อจากพระราชบิดา
เมื่อพระชนมายุ ๑๕ ปี และครองราชสมบัติอยู่เป็นเวลา ๕๒ ปี พระเจ้าพิมพิสารมีอัครมเหสี
พระนามว่าโกศลเทวี หรือ เวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศล แห่งแคว้นโกศล
มีพระราชโอรสซึ่งประสูติจากพระนางเวเทหิ ๑ พระองค์ มีนามว่า อชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู)
พระองค์เลื่อมใสในเจ้าลัทธิหลายองค์ในสมัยนั้น แม้กระทั้งชฎิล ๓ พี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ
คยากัสสปะ หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดา ที่สวนตาลหนุ่ม นอกเมืองราชคฤห์แล้ว
พระองค์บรรลุพระโสดาบัน จึงกลายเป็นพุทธมามกะที่เข้มแข็ง ประกอบกับแคว้นมคธเป็นรัฐมหาอำนาจในยุคนั้น
จึงทำให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปอย่างรวดเร็ว เมื่อยังทรงเป็นราชกุมาร ทรงตั้งความปรารถนาไว้ ๕ ประการ คือ
๑. ขอให้ได้อภิเษกในราชสมบัติ
๒. ขอให้พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้ามาสู่แว่นแคว้น
๓. ขอให้ได้เข้าไปนั่งใกล้พระอรหันต์นั้น
๔. ขอให้พระอรหันต์นั้นทรงแสดงธรรม
๕. ขอให้ได้รู้ธรรมของพระอรหันต์นั้น
พระเจ้าพิมพิสาร ทรงมีความสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ต้น กล่าวกันว่าพระองค์ เป็นอทิฏฐสหาย
(สหายที่ไม่เคยเห็นหน้ากัน) กับเจ้าชายสิทธัตถะ สมัยที่ยังทรงเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะ
ทรงมีความสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร
พระ เจ้าพิมพิสารได้ทรงพบพระพุทธเจ้าครั้งแรก ในสมัยที่พระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา
เสด็จมาพักที่เชิงเขาปัณฑวะ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ในสมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสาร
ทรงเป็นมหาอุปราชยังมิได้ราชาภิเษก พระองค์ทรงพอพระทัยในบุคคลิกลักษณะของพระมหาบุรุษมาก
จึงทูลเชิญให้ครองราชสมบัติครึ่งหนึ่งแห่งแคว้นมคธ แต่พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธ และตรัสบอก
ถึงความตั้งพระทัยของพระองค์ที่จะออกผนวชเพื่อแสวงหาอนุตรสัมมา สัมโพธิญาณ พระเจ้าพิมพิสาร
ทรงแสดงความยินดีด้วย และทูลขอต่อพระมหาบุรุษว่า เมื่อได้ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จกลับมา
โปรดพระองค์เป็นคนแรกด้วย

ความสัมพันธ์หลังการตรัสรู้
เมื่อ พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี และเสด็จจำพรรษา ณ ที่นั่น เมื่อออกพรรษาแล้ว
ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนายังแคว้นต่างๆ ส่วนพระองค์เองเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ทรงสั่งสอนพระอุรุเวลกัสสปะพร้อมน้องชายทั้ง ๒ และบริวาร ๑,๐๐๐ คนให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
แล้วทรงดำริจะเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารตามที่ทูลขอไว้ พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า
พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้นำแคว้นใหญ่ ถ้าพระเจ้าพิมพิสารทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว
ประชาชนคนอื่นๆ ก็จะดำเนินรอยตาม ทรงดำริเช่นนี้จึงเสด็จไปยังเมืองราชคฤห์
สมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองทรงเคารพนับถือชฏิล ๓ พี่น้องอยู่ จึงต้องไปโปรดชฏิล ๓ พี่น้องก่อน
เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดชฏิล ๓ พี่น้องสละลัทธิความเชื่อดั้งเดิมมาเป็นสาวกของพระองค์แล้ว
ก็พาสาวกใหม่จำนวน ๑,๐๐๓ รูปไปพักยังสวนตาลหนุ่ม (ลัฏฐิวัน) ใกล้เมืองราชคฤห์
เมื่อ พระเจ้าพิมพิสารได้สดับข่าวนี้ จึงเสด็จพร้อมประชาชนจำนวนมากไปยังสวนตาลหนุ่ม
ได้เห็นอาจารย์ของตนนั่งคุกเข่าประคองอัญชลีต่อพระพุทธเจ้า ประกาศเหตุผลที่สละลัทธิความเชื่อถือเดิม
หันมานับถือพระพุทธศาสนา ก็หายสงสัย ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเมื่อจบพระธรรมเทศนา
พระเจ้าพิมพิสารทรงบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน ประกาศพระองค์เป็นผู้นับถือพระพุทธศานาและถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวก ทรงดำริถึงที่ประทับอันเหมาะสม สำหรับพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ที่พระราชวังในวันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นไม่กี่วันก็ถวายสวนไผ่นอกเมืองให้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวัน เวฬุวันนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
กัลบทนิวาปสถานคือ สถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต


 "พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน" หรือ "เวฬุวันกลันทกนิวาป"
















พระเจ้าพิมพิสารเป็นคนแรกที่ทำพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายเรื่องมีอยู่ว่าหลังจากถวายวัดเวฬุวันแล้วคืนนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงฝันร้าย เห็นพวกเปรตมาร่ำร้องอยู่ต่อหน้า น่าเกลียดน่ากลัวมาก รุ่งเช้าขึ้นมาพระองค์เสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อทรงทราบว่าเปรตเหล่านั้นเคยเป็นพระญาติของพระองค์มาขอส่วนบุญ และได้รับคำแนะนำให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้พวกเขา วันต่อมาพระเจ้าพิมพิสารจึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวย ภัตตาหารในพระราชวังแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่พวกเปรตเหล่านั้น ตกดึกคืนนั้นพวกเปรตได้มาปรากฏอีก แต่คราวนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
ขอบคุณที่แบ่งส่วนบุญให้แล้วก็อันตรธานหายวับไป

๐ ความสัมพันธ์พระเจ้าพิมพิสารกับพระเจ้าปเสนทิโกศล อาณาเขตแคว้นมคธพระเจ้าพิมพิสาร แห่งเมืองราชคฤห์ และพระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งเมืองสาวัตถีมีความเกี่ยวข้องกันโดยต่างก็ได้ ภคินี (น้องสาว) ของกันและกันมาเป็นมเหสี แต่เนื่องจากในเมืองสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ไม่มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ๆ ผู้มีทรัพย์สมบัติมากเลย และได้ทราบว่าในเมืองราชคฤห์มีเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติมากมายถึง ๕ คน คือ โชติกเศรษฐี ชฎิลเศรษฐี เมณฑกเศรษฐี
ปุณณกเศรษฐี และกากวัลลิยเศรษฐี พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จมายังเมืองราชคฤห์เพื่อขอพระราชทานตระกูลเศรษฐีในเมืองราชคฤห์นี้ไปอยู่ในเมืองสาวัตถีสักหนึ่งตระกูล
พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า "การโยกย้ายตระกูลใหญ่ๆ เพียงหนึ่งตระกูลก็เหมือนกับแผ่นดินทรุด"
แต่เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันไว้หลังจากที่ได้ปรึกษากับอำมาตย์ทั้งหลายแล้ว
จึงยกตระกูลธนัญชัยเศรษฐี (บุตรของเมณฑกเศรษฐี)ให้ไปธนัญชัยเศรษฐีได้ขนย้ายทรัพย์สมบัติ
พร้อมทั้งบริวารและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายเดินทางสู่เมืองสาวัตถีพร้อมกับพระเจ้าปเสนทิโกศล
ขณะที่พักค้างแรมระหว่างทางก่อนเข้าเมือง ธนัญชัยเศรษฐีเห็นว่าภูมิประเทศบริเวณที่พักเหมาะสมดี
อีกทั้งตนเองก็มีบริวารติดตามมาเป็นจำนวนมาก ถ้าไปตั้งบ้านเรือนภายในเมืองก็จะคับแคบ
จึงขออนุญาตพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อตั้งบ้านเมืองลงที่นั้น และได้ชื่อเมืองใหม่ว่า "สาเกต"
ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์


หลังจากพระเจ้าพิมพิสารหัน มานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรไปทั่วว่า เป็นดินแดนแห่งพระธรรม และได้พระราชทานหมอชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำราชสำนัก ให้เป็นหมอประจำองค์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรสผู้หลงผิดพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งประสูติจากพระนางเวเทหิและเป็นรัชทายาท ก่อนประสูติ ขณะทรงพระครรภ์ พระนางเวเทหิทรงมีอาการแพ้พระครรภ์ทรงอยากเสวยพระโลหิตจากพระพาหาข้างขวาของ พระสวามี พระเจ้าพิมพิสารจึงกรีดเอาพระโลหิตของพระองค์ให้พระนางเวเทหิทรงเสวย โหราจารย์ได้ทำนายว่า พระโอรสของพระองค์จะปิตุฆาต คือปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร พระองค์ทรงรักใคร่พระราชโอรสมาก แม้จะมีคำทำนายที่ร้ายแรงและพระนางเวเทหิจะทรงพยายามทำลายพระครรภ์เพื่อป้องกันภัยแก่พระองค์ แต่พระองค์ทรงห้ามและโปรดให้ดูแลรักษาพระครรภ์เป็นอย่างดี เมื่อ พระเจ้าอชาตศัตรูเจริญวัยขึ้น ได้เลื่อมใสในพระเทวทัต จึงถูกพระเทวทัตชักชวนให้ทำปิตุฆาต โดยพระเจ้าอชาตศัตรูทรงให้ขังพระราชบิดาของพระองค์ ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าพบนอกจากพระนางเวเทหิ และต่อมาก็ทรงห้ามเข้าพบเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อปิดกั้นหนทางมิให้พระนางเวเทหิมีโอกาสซุกซ่อนอาหารเข้าไปถวาย พระสวามี และจะได้เร่งให้พระเจ้าพิมพิสารสวรรคตไปตามแผนการ แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นอริยบุคคล สามารถเสวยสุขมีความอิ่มพระทัยได้ด้วยการเสด็จจงกรม จึงทรงพระชนม์อยู่ต่อไปได้อีกในขั้นสุดท้ายพระเจ้าอชาตศัตรูจึงให้กรีดพระบาททั้งสองข้างของพระเจ้าพิมพิสาร เอาเกลือทา ย่างด้วยถ่านไฟร้อน เพื่อไม่ให้เสด็จจงกรมได้อีกต่อไป พระเจ้าพิมพิสารทนทุกขเวทนาไม่ไหวก็สิ้นพระชนม์ในที่คุมขังนั้นเอง
คุกที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสาร

ขณะที่พระเจ้าพิมพิสารได้สิ้นพระชนม์ พระ โอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูก็ประสูติ พระเจ้าอชาตศัตรู
ทรงมีความรักใคร่เสน่หาในพระโอรสมาก จึงทรงสำนึกขึ้นได้ว่าพระเจ้าพิมพิสารคงจะทรงรักใคร่พระองค์
เช่นนั้นเหมือนกัน ครั้นสำนึกได้ก็ตรัสรับสั่งให้ปล่อยพระราชบิดา แต่ปรากฏว่าพระราชบิดาได้สิ้นพระชนม์ก่อนแล้ว ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูเสียพระทัยเป็นอันมาก หลังจากนั้นพระเจ้าอชาตศัตรู
ได้เข้าเฝ้าพระนางเวเทหิพระราชมารดา แล้วถามว่า "ตอนที่หม่อมฉันเกิดพระราชบิดาของหม่อมฉัน
เกิดความรักหม่อมฉันหรือไม่พระเจ้าข้า" "เจ้า ลูกผู้เป็นพาล เจ้าถามอะไรอย่างนั้น
เวลาที่ลูกยังเล็กอยู่ได้เกิดฝีที่นิ้วมือครั้งนั้นพวกแม่นมไม่อาจจะทำให้ ลูกที่กำลังร้องไห้อยู่
หยุดร้องได้ เสด็จพ่อได้อมนิ้วมือของลูกจนฝีแตกในพระโอฐนั่นเอง ครั้งนั้นเสด็จพ่อของเจ้า
ไม่ได้ทรงลุกจากที่ประทับแต่ทรงกลืนบุพโพและโลหิตของเจ้าด้วยความรัก"พระ เจ้าอชาตศัตรูได้จัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระราชบิดาอย่างสมพระเกียรติ
และทรงเลิกคบกับพระเทวทัต หันมาทำบุญในพระพุทธศาสนา เช่นเป็นองค์อุปถัมภ์ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑
เป็นต้น แต่ก็ล้างบาปที่ทำปิตุฆาต (ฆ่าบิดา) ซึ่งเป็นอนันตริยกรรม (กรรมหนักหาที่สุด) มิได้






คัดลอกข้อมูลมาจาก
:พี่ฝน
:เปี๊ยก
http://www.cosmicnirvana.com/home/modules/content/index.php?id=388
แหล่งที่มาของข้อมูล
๑) http://dhammathai.org/sawok/sawok04.php

๒) http://www.dharma-gateway.com/buddha/buddha-history/buddha-history-misc-11.htm

๓) http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7263

๔) หนังสือ พระเจ้าอชาตศัตรู ฉบับการ์ตูน พิมพ์ครั้งที่๓ จัดทำโดย โอม รัชเวทย์ สำนักพิมพ์ อัมรินทร์คอมมิกส์







Powered by XOOPS CMS










วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทำบุญด้วยอะไร..แล้วจะได้อะไร....

1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย
เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์

2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอยู่ เสมอ
เพราะชาติก่อนคุณเคยทำทานอาหารแก่คนยากจนในชาติ ก่อน

3. เหตุใดชาตินี้คุณอดอยากยากจน ไม่มี เสื้อผ้าดีดีสวม ใส่
เพราะคุณตระหนี่ขี้เหนียวไม่ยอมทำทานคนจน ในชาติ ก่อน

4. เหตุใดชาตินี้คุณมีบ้านเรือนใหญ่โต
เพราะคุณเคยถวายข้าวสารเข้าวัดในชาติก่อน

5. เหตุใดชาตินี้คุณมีความเจริญรุ่งเรืองและ มีความสุขมาก
เพราะคุณเคยถวายเงินสร้างวัดในชาติก่อน

6. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนสวย และรูป งาม
เพราะคุณเคยถ วายดอกไม้สดบูชาพระด้วยความเคารพใน ชาติก่อน

7. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนฉลาดปราดเปรื่องมี ปัญญาดี
เพราะคุณเคยเป็นพุทธมามกะและทานมังสวิรัติใน ชาติก่อน

8. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นที่รักของทุกๆ คนและ มีเพื่อนมากมาย
เพราะคุณเคยสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อทุกคนใน ชาติก่อน

9. เหตุใดชาตินี้คุณมีพ่อ แม่อยู่พร้อม หน้า
เพราะคุณเคารพและให้ความช่วยเหลือ ไม่ดูแคลน คนไร้ญาติในชาติก่อน

10. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นเด็ก กำพร้า
เพราะคุณเคยยิงนก ตกปลา และพรากสัตว์ในชาติ ก่อน

11. เหตุใดชาตินี้คุณมีอายุยืนแข็งแรง
เพราะคุณเคยปล่อยนก ปล่อยปลา สิ่งมีชีวิตในชาติ ก่อน

12. เหตุใดชาตินี้คุณอายุสั้น
เพราะชาติก่อนคุณเคยฆ่าสัตว์มาก มาย

13. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนรับใช้
เพราะชาติก่อนคุณเคยดูถูกเหยียดหยามคน จน

14. เหตุใดชาตินี้คุณมีดวงตาสดใส
เพราะชาติก่อนคุณเคยเติมน้ำมันตะเกียงและจุดไฟบูชา พระ

15. เหตุใดชาตินี้คุณโง่ปัญญาอ่อนและหู หนวก
เพราะชาติก่อนคุณเคยด่าว่าและหยาบคายต่อหน้าพ่อ แม่

16. เหตุใดชาตินี้คุณต้องตายเพราะยาพิษ
เพราะชาติก่อนคุณเจตนาวางยาในต้นน้ำลำธารให้เป็น พิษ

17. เหตุใดชาตินี้คุณจึงแขวนคอตาย
เพราะชาติก่อนคุณใช้ตะข่ายล่าและดัก สัตว์

18. ถ้าชาตินี้คุณฆ่าเขา
ชาติหน้าเขาก็จะฆ่าคุณ และจะฆ่ากันไป-มาไม่มีสิ้น สุด

19. ถ้าชาตินี้คุณบอกเล่ากฏแห่งกรรม
คุณจะเป็นที่เคารพนับถือมากมายในชาติ หน้า

ขอให้บุญกุศลที่ได้จากการบอกเล่าธรรมะนี้ ไปเกิดเป็นบุญกุศลแก่แฟนของผมด้วยเถิด.. สาธุ




By : hivgetout   

http://pha.narak.com/topic.php?No=34493

การผูกพัทธสีมา

การฝังลูกนิมิต เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า --การผูกพัทธสีมา-- เป็นพิธีการกำหนดเขตแดนของสถานที่ที่ใช้ในการทำสังฆกรรม
การฝังลูกนิมิตนี้คงสืบเนื่องมาจากสมัยพุทธกาล ในตอนที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาใหม่ ๆ บรรดาภิกษุสาวกทั้งหลาย ยังไม่มีที่อยู่อาศัย เป็นหลักแหล่ง
จึงมีผู้สร้างอารามถวาย เช่น เวฬุวนาราม เขตวนาราม และบุปผาราม ซึ่งก็เป็นแบบอย่าง ของการสร้างที่อยู่ของพระสงฆ์ในเวลาต่อมา
การทำสังฆกรรมจะต้องทำในพระอุโบสถเท่านั้น พระพุทธองค์จึงกำหนดเขตให้พระภิกษุสงฆ์กระทำกิจของสงฆ์ร่วมกันในบริเวณที่กำหนด โดยหมายเอา
วัตถุบางอย่างเป็นเครื่องกำหนดเขตแดน เรียกว่า --การผูกเขตหรือผูกสีมา-- คำว่า -สีมา- นี้แปลว่า -เขตแดน- และวัตถุที่บอกเขตแดนเรียกว่า นิมิต
พระพุทธองค์ทรงระบุไว้ ในบาลี 8 ประการ คือ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ และน้ำนิ่ง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ แต่แนวนิมิตนี้ไม่ค่อยมีระยะที่แน่ชัด
ทำให้เข้าใจกันสับสน ต่อมาจึงสร้างนิมิตขึ้นมาโดยเฉพาะเป็นคู สระและก้อนหิน ซึ่ง-ก้อนหิน-นี้เป็นที่นิยมกันมาก เพราะทนทาน และเคลื่อนย้ายได้ยาก
เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น เราก็ทำให้ก้อนหินเป็นลูกกลม ๆ มีลักษณะสวยงาม จึงเรียกกันว่า --"ลูกนิมิต" --ปัจจุบันนี้
การสร้างพระอุโบสถใหม่นี้เองที่ต้องมีการผูกพัทธสีมา หรือฝังลูกนิมิต ที่ทางวัดมักเชิญชวนให้ใคร ๆ ไปทำบุญ เนื่องจากการฝังลูกนิมิตเป็นกิจของสงฆ์
เราจึงไม่ค่อยได้เห็นการประกอบพิธีนี้เท่าใดนัก หากพบว่าบริเวณที่จะกำหนดเคยเป็นสีมา หรือเป็นที่ที่มีเจ้าของมาก่อน พระสงฆ์จะต้องสวดถอน เพื่อมิให้สีมา
ไปทับที่เจ้าของเดิม แต่ การกำหนดเขตสีมา ว่าจะมีอาณาเขตแค่ไหน จะต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อให้ที่ดินบริเวณนั้นเป็นสิทธิ์ ของสงฆ์
หรือแยกวัดออกมาจากเขตบ้าน เรียกว่า --วิสุงคามสีมา-- เสียก่อน การสวดถอนนี้จะกระทำก่อนพิธีการผูกสีมา หรือทำในวันเดียวกันก็ได้ โดยมากนิยมใช้ลูกนิมิต 8 ลูก ฝังตามทิศต่าง ๆ รอบพระอุโบสถ 8 ทิศ ทิศละหนึ่งลูก
รวมทั้งกลางพระอุโบสถอีกหนึ่งลูก รวมทั้งหมด 9 ลูก พระสงฆ์ 4 รูป จะเดินตรวจลูกนิมิตที่นำไปวางตามทิศต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ ทิศตะวันออก เรียกว่า สวดทักสีมา เมื่อเสร็จแล้วจะเข้าไปในพระอุโบสถสวดประกาศสีมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น ก็ตัดลูกนิมิตลงหลุมและกลบ ในขั้นตอนของการตัดลูกนิมิตนี้ ทางวัดมักจะเชิญ
บุคคลสำคัญมาเป็นประธานในพิธี เมื่อผัง ลูกนิมิตและกลบแล้วก็จะสร้างเป็นซุ้มหรือทำฐาน ตั้งใบสีมา เวลาปิดทองลูกนิมิตจะเริ่มปิดตั้งแต่ลูกหน้าพระอุโบสถ
และวนขวาไปจนครบ 8 ลูก และปิดทองลูกที่ฝังกลางพระอุโบสถเป็นลูกสุดท้าย

เปรียบว่าลูกนิมิตเหล่านี้ หมายถึง พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์สาวก ที่ทรงคุณธรรม .......!
ทิศตะวันออก หมายถึง พระอัญญาโกญธัญญะ ผู้รู้ราตรีกาลนาน
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง พระมหากัสสป ผู้ทรงธุดงค์คุณ
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หมายถึง พระราหุลผู้เลิศในทางการศึกษา
ทิศใต้ หมายถึง พระสารีบุตร ผู้เลิศในทางปัญญา
ทิศเหนือ หมายถึง พระโมคคัลลาน์ ผู้เลิศในทางมีฤทธิ์
ทิศตะวันตก หมายถึง พระอานนท์ ผู้เลิศในทางพหูสูตร
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ หมายถึง พระอุบาลี ผู้เลิศในทางวินัย
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หมายถึง พระดวัมปติ ผู้เลิศในทางลาภและรูปงาม
ส่วนลูกนิมิตกลางพระอุโบสถ หมายถึงพระพุทธเจ้า ....!

ในงานปิดทองฝังลูกนิมิตนิยมใส่ สมุด ดินสอ เข็ม ด้าย ลงไปในหลุมด้วย เพราะมีความเชื่อว่า หากผู้ทำบุญเขียนข้อความที่อธิษฐานลงในสมุด จะมีความจำดี
ไม่หลงลืมง่าย ส่วนเข็มมีความหมายว่าจะได้มีปัญญาเฉียบแหลม ด้าย หมายถึงความต่อเนื่องมีชีวิตที่ผาสุกยืนยาว และการปิดทองที่ลูกนิมิต เพื่อให้ผิวกายผ่องใส
ในสมัยก่อน ผู้มีจิตศรัทธาจะนำของมีค่าใส่ลงในหลุมด้วย เช่น พวกเครื่องทอง นาก เงิน เพราะถือว่าเป็นการฝากไว้ในพระพุทธศาสนา แต่ปัจจุบันไม่ค่อยทำกันนัก เพราะบางครั้ง มีคนไปลักลอบขุดขึ้นมา วัดต่าง ๆ จะจัดงานผูกพัทธสีมา หรือฝังลูกนิมิตได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

การสร้างพระอุโบสถ อานิสงส์มาก--อานิสงส์ในการผูกพัทธสีมาไว้ 6 ประการ คือ
ไม่มีโรคภัย ไข้เจ็บทุกชาติ
ปราศจากอุปัทวะทั้งหลาย
ไม่เกิดในตระกูลต่ำ หากเกิดในโลกมนุษย์จะเป็น ท้าวพระยามหากษัตริย์
หากเกิดในเทวโลกจะเป็นท้าวสักกเทวราชสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง

มีผิวพรรณผ่องใสและ
อายุยืน เหล่านี้เป็นความเชื่อในเรื่องผลบุญในชาตินี้ และชาติหน้านั่นเอง



ข้อมูลจากKoornor (KHOT HATSADIN)ระดับ
ศาสตราจารย์ http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=732c795ba21c324e&pli=1

จากคำถามคนเฒ่าคนแก่บอกว่าปิดทองฝังลูกนิมิตครบ 9 วัด แล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ ทำให้สงสัยว่าเป็นกุศโลบายอย่างไร? และลูกนิมิตทำมาจากอะไร?และเป็นสัญลักษณ์แทนอะไร? ทำไมต้องมีแปดลูก แปดทิศด้วย? แล้วเพราะอะไรต้องตัดลูกนิมิตตอนเที่ยงคืนด้วย?

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อนาถบิณฑิกะเศรษฐี

วัดเชตวันในสมัยพุทธกาลพระมูลคันธกุฏี วัดเชตวัน สถานที่พระพุทธองค์ประทับจำพรรษานานที่สุดถึง 19 พรรษา



เดิมวัดเชตวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของเจ้าเชต เจ้าชายในราชวงศ์โกศลแห่งเมืองสาวัตถี เป็นพระราชอุทยานร่มรื่นนอกตัวเมืองหลวง มีเนื้อที่ 80 ไร่ (32 เอเคอร์)



วัดเชตวันมหาวิหารมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่า "วัดพระเชตวัน อารามของบิณฑิกเศรษฐี" ที่เรียกเช่นนี้เพื่อให้ทราบว่าวัดนี้เป็นวัดที่อนาถบิณฑิกะสร้างถวายแต่ใช้ ชื่อวัดของเจ้าของที่เดิม เพราะวัดแห่งนี้เดิมเป็นที่ของเจ้าเชต (Prince Jetu) เศรษฐีเจ้าที่ดินในสมัยนั้น ซึ่งอนาถบิณฑิกะซื้อต่อมาด้วยราคาที่แพงมหาศาลถึง 18 โกฏิ (เจ้าเชตกำหนดให้นำเหรียญทองมาปูเต็มพื้นที่ ๆ ต้องการซื้อ) และซ้ำยังต้องใช้ชื่อวัดเป็นชื่อของเจ้าเชตอีกด้วย จึงทำให้วัดนี้ได้นามตามเจ้าของเดิม ในขณะที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเจ้าของที่ผู้สร้างวัดถวายไม่สามารถใส่ชื่อของตนไป ในนามวัดได้ โดยวัดแห่งนี้อนาถบิณฑกเศรษฐีได้สร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ สิ้นเงินไปอีก 18 โกฏิ จึงทำให้การสร้างวัดแห่งนี้มีราคาถึง 54 โกฏิ



พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับจำพรรษาและบำเพ็ญพุทธกิจที่วัดแห่งนี้รวมถึง 19 พรรษา นับว่าเป็นวัดที่พระพุทธองค์ประทับจำพรรษานานที่สุด เนื่องจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่สัปปายะต่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เพราะเมืองสาวัตถีในสมัยนั้นเป็นเมืองที่มั่งคั่ง สงบ และมีการอุปถัมภ์บำรุงเป็นอย่างดีจากพระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี และประชาชนทั้งหลาย



วัดแห่งนี้เป็นสถานที่เกิดเรื่องราวและพระสูตรสำคัญ ๆ ในพระพุทธศาสนามากมายเช่น เรื่องของพระองคุลิมาล, นางปฏาจาราเถรี, พระนางกิสาโคตมีเถรี, การถวายอสทิสทาน, เรื่องพระพุทธองค์ทรงดูแลภิกษุไข้, พราหมณ์จูเฬกสาฏก, ทรงพยากรณ์สุบินนิมิต 16 ประการ, นางกาลียักษิณี, นางจิญมาณวิกา ถูกแผ่นดินสูบ, พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ เป็นต้น ในส่วนพระสูตรนั้นมีจำนวนมาก ที่รสำคัญ ๆ เช่น มหามงคลสูตร, ธชัคคสูตร, ทสธัมมสูตร, สาราณียธรรมสูตร, อหิราชสูตร, เมตตานสังสสูตร, คิริมานนทสูตร, ธัมมนิยามสูตร, อปัณณกสูตร, อนุตตริยสูตร, พลสูตร, มัคควิภังคสูตร, โลกธัมมสูตร, ทสนารถกรณธัมมสูตร, อัคคัปปทานสูตร, ปธานสูตร, อินทริยสูตร, อนริยสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร โดยทั้งหมดทรงแสดง ณ วัดเชตวันแห่งนี้



วัดเชตวันหลังการปรินิพพานหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน วัดเวฬุวันได้รับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่ มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาด โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันจวบจนเมืองสาวัตถีตกไปอยู่ในอำนาจของแคว้น มคธและเสื่อมความสำคัญลงจนถูกเมืองสาวัตถีและวัดแห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้างไป หลังยุคกุษาณะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 จากเมืองหลวงแห่งแคว้นเป็นชนบทเล็ก ๆ ที่ห่างไกล และสิ่งก่อสร้างถูกทิ้งกลายสภาพเป็นเนินดิน และชื่อของสาวัตถีได้ถูกลืมไปจากอินเดีย (กลายเป็นเพียงสาเหต-มาเหต โดยสาเหตเป็นที่ตั้งของซากวัดเชตวัน และมาเหตเป็นที่ตั้งของเมืองสาวัตถี)



จนมีการขุดค้นพบพุทธสถานและซากเมืองในช่วงหลัง ทำให้ปัจจุบันซากวัดแห่งนี้ได้รับการขุดค้นปรับแต่งเป็นอย่างดี ซึ่งต่างจากตัวเมืองสาวัตถีที่ไม่มีการบูรณะขุดค้นเท่าใดนัก จึงทำให้ปัจจุบันมีผู้มาจาริกแสวงบุญ ณ วัดเชตวันเป็นประจำ ปัจจุบันชาวบ้านแถบนี้เริ่มหันหลับมาเรียกตำบลแห่งนี้ว่าศราวัสตี (ภาษาสันสกฤต) เหมือนในสมัยก่อนบ้างแล้ว



จุดแสวงบุญและสภาพของวัดเชตวันในปัจจุบันสถานที่สำคัญ ๆ ที่พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันนิยมไปนมัสการคือ พระมูลคันธกุฎี ที่ได้ทำการขุดค้นปรับแต่งเป็นอย่างดี, อานันทโพธิ์ ต้นโพธิ์ที่ปลูกโดยพระอานนท์ในสมัยพุทธกาล ต้นโพธิ์ต้นนี้ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์และยังคงเป็นยืนต้นมาจนปัจจุบัน, หมู่กุฏิพระมหาเถระ, บ่อน้ำสรงสนานของพระพุทธองค์ เป็นต้น

วัดเชตวันมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตวัน อารามของบิณฑิกเศรษฐี เป็นอาราม (วัด) ที่สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี บนที่ตั้งของเชตวัน หรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง 18 โกฏิ (ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น) วัดแห่งนี้นับว่าเป็นวัดและที่มั่นสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัย พุทธกาล และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 19 พรรษา วัดเชตวันมหาวิหารเป็นสถานที่เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากมาย



ปัจจุบันวัดเชตวันมหาวิหารเหลือเพียงซากโบราณสถาน ได้รับการบูรณะจากทางราชการอินเดียเป็น อย่างดี ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) หรือแม่น้ำอจิรวดีในสมัยพุทธกาล นอกกำแพงเมือง

สาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ที่ ตำบลสะเหต (Saheth) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย



พระชุดเบญจภาคี

พระชุดเบญจภาคี ประกอบด้วย

1. พระสมเด็จ วัดระฆัง ที่สร้างโดย ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พฺรหฺมรังษี เป็นตัวแทนยุค รัตนโกสินทร์
2. พระซุ้ม ก. หรือ กำแพงเม็ดขนุน ทุกกรุในจังหวัดกำแพงเพชรเป็นตัวแทนยุค สุโขทัย
3. พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัด พิษณุโลก เป็นตัวแทนยุค อยุธยา-พระพิษณุโลกสองแคว
4. พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตัวแทนยุค อู่ทอง-สุพรรณภูมิ
5. พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เป็นตัวแทนยุค ลพบุรี
จะเห็นได้ว่าพระเครื่องชุดเบญจภาคีนั้น งามหมดจดด้วยพุทธศิลป์ เปี่ยมด้วยพุทธบารมีเป็นที่น่าเกรงขาม ถ้าได้มาห้อยคอผู้ใดแม้เพียงองค์เดียว ก็เหมือนหมุนให้ผู้นั้น มีรัศมีเรืองรองจับขึ้นมาทันที ถ้าเราจะอาราธนามาเข้าชุดในสร้อยเส้นเดียวกัน 1. สมเด็จวัดระฆัง อยู่ตรงกลาง 2. พระนางพญา อยู่ล่างซ้าย 3. พระซุ้ม ก. อยู่ล่างขวา 4. พระผงสุพรรณ อยู่บนซ้าย 5.พระรอด อยู่บนขวา ดูจะสมดุลได้สัดส่วนเหมาะสมเป็นที่สุด
คราวนี้เรามากล่าวถึงพระเบญจภาคีทีละองค์ พอได้รู้จักเอาไว้และจะคุยให้ละเอียดในโอกาสต่อไป
 
somdejf.jpgพระสมเด็จวัดระฆัง สร้างโดยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พฺรหฺมรังสีแห่งวัดระฆังโฆษิตารามเป็นพระทรงสี่เหลี่ยมขนาดกว้างประมาณ 2.2-2.4 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5 ซ.ม. หนาประมาณ 0.3 - 0.4 ซ.ม. เนื้อปูนปั้น สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2410 สันนิฐานว่าแม่พิมพ์สร้าง โดยลูกศิษย์ที่อยู่ในงานช่างสิบหมู่ซึ่งเป็นช่างหลวง และเชื่อว่า มีหลายท่านที่แกะพิมพ์ถวายแต่ที่ปัจจุบันนิยมจะเน้นเฉพาะพิมพ์ทรงของ หลวงวิจาร เจียรนัย ราคาเช่าหาองค์หนึ่ง ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านส่วนของช่างท่านอื่นจะเล่นหาเฉพาะ กลุ่มโดยต้องดูเนื้อประกอบราคาเช่า หาตามความพอใจ
โดยพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นพระที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านสร้างเองมีไว้เพื่อแจกญาติโยมที่สนิท ที่ทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือญาติโยมที่แวะหาถูกอัธยาศัยกัน ไม่ได้ซื้อขายกัน ใครอยากได้ไว้บูชา ก็อาราธนาขอเอาไม่หวง พิมพ์พระเป็นรูปสี่เหลี่ยมชิ้น ฟักมีซุ้มผ่าหวายทรงครอบแก้ว ภายในเป็นรูป นูนต่ำ พระปางสมาธิ เกศเรียวยาวประทับบนฐาน 3 ชั้น ไม่ปรากฏรายละเอียดในองค์พระทำให้ดูมีเสน่ห์ ศิลปะ เรียบง่ายแต่เหมือนมีมนต์ขลัง
เนื้อพระเท่าที่สังเกตเป็นเนื้อปูนปั้นก็จริง แต่คาดว่าท่านทำครั้งละไม่มาก คือทำไปแจกไปทำให้รายละเอียดไม่เหมือนกัน คือสูตรผสมไม่ตายตัวมีก็ใส่ขาดบ้างไม่เป็นไร ไม่สู้เคร่งครัดแถมนู้นนิด นี่หน่อย ตามอัธยาศัยท่าน และท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านยังปลุกเสกอธิฐานจิตด้วยคาถา "ชินบัญชร" อันศักดิ์สิทธิ์ที่ได้จากกรุพระโบราณ เมืองกำแพงเพชรที่สืบทอดจากลังกา โดยการอาราธนาคุณแห่งพระพุทธจารย์ในโบราณกาลทุกพระองค์ อีกทั้งอันเชิญ พระอรหันต์สาวก ผู้เป็นเอตะทักคะทรงคุณอันวิเศษ มาสถิตอยู่ในพระสมเด็จฯ ที่เจ้าพระคุณปลุกเสกอธิฐานจิตเพื่อคุ้มครองอภิบาล ผู้อาราธนาพระสมเด็จพกติดตัวตังที่ เชื่อกันว่า พระสมเด็จ วัดระฆัง มีพุทธคุณครอบจักรวาล เน้นบุญฤทธิ์ หนุนดวงชะตา เมตตามหานิยม แคล้วคลาดใครมีบารมีได้ไว้จะรุ่งเรืองไม่มีวันตกต่ำ

nanpayaf.jpgพระนางพญา
สันนิฐานว่าสร้างโดย สมเด็จพระวิสุทธิกษัตรี องค์เอกอัครมเหสีแห่งสมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชมารดา ของสมเด็จพระนเรศวร ประมาณ พ.ศ. 2100 เมื่อครั้งประทับอยู่ที่เมือง พระพิษณุโลกสองแคว บรรจุกรุที่วัดนางพญา และกรุแตกครั้งแรกเมื่อปี 2442 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 โดยประมาณว่าพระในกรุมีประมาณ 84,000 องค์ ได้แบ่งฝากกรุในกรุงเทพฯ และต่างวัดอื่นๆ อีกมาก และยังพบปะปลายในกรุอื่นๆในจังหวัดพิษณุโลก ราคาเช่าหาไม่ใช่ถูก อย่างน้อยก็หลักแสนกลางๆ พอหาได้
สำหรับเนื้อพระนั้น เป็นพระเนื้อดินละเอียด ผสมว่านละเอียดหนึกนุ่ม ผสมแร่เล็กๆ ขาวใส สีน้ำตาลอ่อน, สีดำ,สีชมพู และแร่ว่านดอกมะขามแล้วนำไปเผา พิมพ์ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วฐานแคบ ขนาดปลายนิ้วหัวแม่มือ องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยลอยองค์ ไม่มีฐานรองรับ แลดูเรียบๆ แต่เข้มขลัง
พุทธคุณ เน้นทางอิทธิฤทธิ์แกร่งกล้า คงกระพันชาตรี มิหวั่นเกรงคมศาสตราวุธ แคล้วคลาด ชนะศัตรู มีบารมีผู้คนเกรงใจ

sumkof.jpgพระซุ้ม ก.
ผู้สร้างไม่ปรากฏแต่สันนิฐานว่า พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย สร้างเมื่อครั้งครองเมืองกำแพงเพชร ประมาณ พ.ศ. 1900 พบพระซุ้ม ก. จำนวนมากเกลื่อนทุ่งเศรษฐี เนื่องจากในเขตทุ่งเศรษฐีพบทุกกรุ แต่ไม่ได้อยู่เป็นกรุกลับแตกกระจายเกลื่อน สันนิฐานว่าเดิมน่าจะอยู่ในกรุ แต่ถูกชาวบ้านรื้อค้นหาพระ หรือสมบัติมีค่า เห็นพระเนื้อดินไม่สนใจ เพราะมีจำนวนมากและพระสกุลกำแพงเพชรที่เป็นเนื้อดินมีเป็น ร้อยๆ พิมพ์ นิยมทุกพิมพ์ แต่ที่นิยมที่สุดแพงที่สุด ก็คือ พระกำแพงซุ้ม ก.เป็นพระเนื้อดิน ละเอียดหนึกนุ่มผสมว่าน ปรากฏเม็ดและเอียดและแร่ว่านดอกมะขาม
เนื้อพระเป็นสีเม็ดมะขาม เป็นส่วนมาก เป็นพระเนื้อดินดิบ หรือดินเผาแบบกองฟอนสุมพอดินสุก พิมพ์ทรงคล้ายอักษร ก ไก่ ภายในเป็นพระพุทธรูปนูนต่ำปางสมาธิเกศตุ้มคล้ายศิลปะสุโขทัยหมวดตะกวน มีเส้นรัศมีรอบพระเศียร ประทับบนฐานบัวเล็บช้าง ผนังข้างซ้ายขวาเป็นซุ้มกนกเถาวัลย์ แลดูเด่นสง่าหนักแน่น อลังการ
พุทธคุณ เน้นทางโภคทรัพย์ เป็นมหาอำนาจวาสนาบารมี เป็นใหญ่กว่าคนทั้งปวงไม่มีวันจน
supanf.jpgพระผงสุพรรณ ผู้สร้าง สันนิฐานว่าเป็นกษัตริย์ในราชวงค์ สุพรรณภูมิ น่าจะเป็นสมเด็จ พระบรมราชาธิราช ที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2091 ในจารึกแผ่นทองที่พบที่เจดีย์ใหญ่วัดพระ ศรีรัตนมหาธาตุ ระบุว่าได้มีพระบรมราชโองการสั่งให้พระฤาษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธานในการสร้าง ต่อมาในปี 2456 ในสมัย รัชกาลที่ 6 มีคนลอบขุดกรุนี้ได้สมบัติไปไม่น้อยรวมถึง จารึกแผ่นทองอีกจำนวนมาก
พระสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) เจ้าเมืองสุพรรณบุรีขณะนั้นได้สั่งให้เปิดกรุอย่างเป็นทาง
การ และนำพระพิมพ์และจารึกแผ่นทองที่เหลือจำนานหนึ่งทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดินละเอียดผสมว่าน108 เนื้อหนึกนุ่มมีคราบน้ำว่านและรารัก พิมพ์ทรงเป็นศิลป์อู่ทอง องค์พระปางมารวิชัยประทับบนฐานเขียง พระก้มเล็กน้อยพระอุระนูนเด่น แลดูเหมือนการบำเพ็ญสมาธิ เคร่งขรึม พุทธคุณ เน้นด้านเมตตาบารมี การเป็นผู้นำน่าเกรงขาม การมีโชค ความมีเสน่ห์ ขจัดทุกข์ความสงบหนักแน่น

parodf.jpgพระรอด ผู้สร้างเป็นพระราชธิดากษัตริย์แห่ง ?ลวปุระ?อาณาจักรลพบุรีที่ถูกอัญเชิญไป สร้างเมืองลำพูน คือพระนางจามเทวี ประมาณ พ.ศ. 1200 โดยพระนางได้มอบให้ฤาษีนารอดเป็นประธานในการสร้าง พระรอด กรุวัดมหาวัน พบที่กรุนี้กรุเดียวจำนวนไม่มาก สันนิฐานว่าน่าจะสร้างแล้วแจกทหารติดตัวไปรบ เสร็จศึกกลับมาจึงนำมาลงกรุ
เนื้อพระเป็นเนื้อดินสะอาดปราศจากเม็ดกรวดมีเหล็กไหลเป็นส่วนผสมเนื้อหนึกแกร่ง พิมพ์ทรงขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย เป็นรูปพระปางมารวิชัยประทับบัลลังก์ทรงสูง พื้นหลังเป็นโพธิ์ลายตื้นๆ ลายละเอียดอ่อนช้อยมาก มองดูแล้วสง่างาม ร่มรื่นอุดมสมบูรณ์
พุทธคุณ เน้นเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน อุดมด้วยโภคทรัพย์ ร่ำรวยทรัพย์ แคล้วคลาด

ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.kaejiarjan.com/kaejiarjan/kaeji-pra-kreung/32-pra-kreung.html
เกจิพระเครื่อง 29/11/2550