วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พระเจ้าปเสนทิโกศล

พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโกศล ผู้ครองเมืองสาวัคถี แคว้นโกศล สมัยยังทรงพระเยาว์ได้ศึกษาศิลปวิทยาในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับเจ้าชายมหาลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี และพันธุละเสนาบดีแห่งนครรุสินารา เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลสำเร็จการศึกษาแล้ว ก็ได้เสด็จกลับนครสาวัตถี และได้ครองราชย์สมบัติสืบแทนพระราชบิดาต่อไป
พระเจ้าปเสนทิโกศลนับถือนักบวชพระพุทธศาสนามาก่อน สาเหตุที่หันมาเลื่อมใสพระพุทธศาสนานั้นมีเรื่องเล่ากันว่า วันหนึ่งขณะยืนประทับอยู่บนปราสาท พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระสงฆ์หลายพันรูปเดินไปฉันภัตตาหารที่บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐีด้วยอาการสงบสำรวม รู้สึกเลื่อมใสในอากัปกิริยาอันงดงามของพระสงค์ จึงมีพระราชประสงค์จะถวายภัตตาหารบ้างจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและกราบทูลขออาราธนาให้พระองค์เสด็จไปเสวยพระกายาหารในพระบรมมหาราชวังพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ แล้วทรงมอบพระองค์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าและทรงขอให้พระพุทธองค์เสด็จไปเสวยพระกายาหารเช่นนี้เป็นประจำ พระพุทธองค์ตรัสว่า “ในฐานะที่ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จะต้องสงเคราะห์ประชาชนทั่วหน้ากัน จะไม่เสวยพระกายาหารที่เดียวตลอดไป” จึงทรงมอบภาระให้พระอานนท์ พุทธอปฐากพาภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งไปฉันภัตตาหารเป็นประจำแทน
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความมั่นคงในพระรัตนตรัย และมีความเคารพในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ทุกครั้งที่ทรงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอภิวาท ( กราบ ) แทบพระยุคลบาทพระพุทธองค์อย่างนอบน้อม จนพระพุทธองค์ทักว่าเป็นถึงราชามหากษัตริย์ไม่จำเป็นต้องแสดงความเคารพถึงขนาดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลกรายทูลว่า “ พระองค์ถวายความเคารพอย่างสูงเช่นนี้ เพราะพรพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกของโลก เป็นผู้ประดิษฐานมหาชนไว้ในกุศลธรรม” คือทรงสั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรมอันดีงามยากที่คนอื่นจะทำได้
ทุกครั้งที่ท่านว่างจากพระราชภารกิจ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะเสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้าฟังธรรมและขอคำแนะนำจากพระพุทธเจ้าเสมอจึงทรงคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดีและทรงปรารถนาจะมีความคุ้นเคยทางสายเลือดกับพระพุทธองค์อีกด้วย จึงทรงขอพระธิดาของพระเจ้าศากยะมาเป็นมเหสีอีกองค์หนึ่ง
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีพระทัยใฝ่ในการบุญการกุศลอย่างยิ่ง ดังหลักฐานปรากฏว่าพระองค์ทรงทำทานแข่งกับประชาชน เมื่อประชาชนจำนวนมากร่วมมือร่วมใจกันถวายทานอันใหญ่โต พระองค์พ่ายแพ้ แต่ด้วยความช่วยเหลือจากพระนางมัลลิกาเทวีพระมเหสีได้ถวายคำแนะนำให้ทรงทำ “ อสทิสทาน” จึงสามารถเอาชนะประชาชนได้
พระเจ้าปเสนทิโกศลถูกการายนอำมาตย์ยึดพระนครขณะเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร พระองค์จึงทรงมอบราชสมบัติให้วิฑูฑภะพระราชกุมารครองราชย์สมบัติสืบแทนส่วนพระองค์ก็เสด็จหนีไปเมืองราชคฤห์ เพื่อขอกำลังจากพระเจ้าอชาตศัรตูมาช่วยปราบกบฏ แต่ไปไม่ทันเวลา ประตูเมืองปิดเสียก่อน ด้วยความเหน็ดเหนื่อยบอบช้ำพระวรกาย และด้วยความเสียพระราชหฤทัย พระองค์ก็เสด็จสวรรคต ณ ค่ำคืนนั้น ที่ข้างประตูเมืองราชคฤห์นั่นเอง
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. ทรงมั่นคงในพระรัตนตรัย หลังจากหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมั่นคงในพระรัตนตรัยมาก ดังทรงแสดงออกถึงความเคารพอย่างสูงต่อพระพุทธเจ้า และดูแลความเอยู่ของพระสงฆ์เป็นอย่างดีตลอดรัชกาลของพระองค์
2. ทรงรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาอย่าดียิ่ง มีหลายครั้งที่พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาถูกลัทธิตรงข้ามผู้ไม่ปรารถนาดีใส่ร้ายป้ายสีให้มัวหมองเสื่อมเสียพระองค์จะไม่ทรงเฉยเมย ทรงเอพระทัยใส่ช่วยขจัดปัดเป่าให้หมดไปในฐานะที่ทรงเป็นเออัครศาสนูปถัม ภก ดังกรณีที่พวกนิครนถ์ ได้ฆ่านางสุนทรีสาวิกาของตนเอง และนำศพไปทิ้งไว้ใกล้พระเชตะวัน จากนั้นปล่อยข่างว่าสาวิกาของพวกตนถูกสาวกของพระพุทธเจ้าฆ่าตาย พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่เชื่อกลับรับสั่งให้สอบสวนจนถึงต้นตอ จึงได้ความจริงผู้ที่ฆ่านางก็คือพวกนิครนถ์นั่นเอง เพื่อใส่ร้านป้ายสีให้พระพุทธศาสนามัวหมอง และดังกรณีที่พวกนิครนถ์จ้างโจรไปฆ่าพระโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงเอาเป็นภาระรับสั่งให้สืบสวน สอบสวนจนได้ตัวการที่แท้จริง เป็นต้น
3.ทรงมีพระทัยกว้างยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น พระเจ้าแผ่นดินที่ปกครองด้วยระบบราชาธิปไตยนั้น มักไม่ค่อยมีใครกล้าตักเตือน หรือมักไม่ค่อยฟังความคิดเห็นของคนอื่น แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงมีทิฐิมานะเช่นนั้น แต่กลับยอมรับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์จากคนอื่น แม้ผู้นั้นจะอยู่ในสถานะด้อยกว่าพระองค์ก็ตาม ดังทรงรับฟังคำแนะนำของพระนางมัลลิกาเทวีที่ถวายคำแนะนำให้ทรงเห็นโทษในการฆ่าสัตว์บูชายัญและให้ทรงทำ “อสทิสทาน” แข่งกับประชาชนหรือกระทำตามข้อเสนอแนะของฉัตตปาณิอุบาสกในการเสด็จไปทูลขอพระสาวกของพระพุทธเจ้ามาช่วยสั่งสอนธรรมให้แก่พระมเหสี เป็นค้น
4. ทรงยอมรับความคิดเห็นและพร้อมที่จะแก้ไข คุณสมบัติข้อนี้สืบเนื่องมาจากข้อ 2,3 เมื่อตนทำผิดและมีคนอื่นแนะนำ ก็ยอมรับในความผิดพลาดและพร้อมจะแก้ไขข้อนี้ปรากฏชัดเจน คือ เมื่อครั้งที่พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งให้สังหารพันธุละเสนาบดีพร้อมทั้งบุตร 32 คนเพราะทรงหลงเชื่อคำยุยงว่าพันธละเสนาบดีคิดจะยึดครองราชย์สมบัติเมื่อความจริงปรากฏว่าพันธุละเสนาบดีบริสุทธิ์ พระองก็เสด็จไปทรงขอขมาต่อพระนางมัลลิกาผู้เป็นภริยาของพันธุละเสนาบดี
http://203.172.243.210/elearning/mod/resource/view.php?id=2396
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=548dcafa4f00234f

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น